ทุกวันนี้มีผู้คนมากมายสนใจอยากเริ่ม ขายของออนไลน์ มากขึ้น อาจเพราะดูเป็นสิ่งที่ทำได้ง่าย แถมไม่ต้องลงทุนอะไรมากมาย
สำหรับผู้ใช้ Google Docs กับวิธีการ ตั้งค่าโชว์นับจำนวนคำตลอดเวลา บน Google Docs คุณสามารถตั้งค่าเปิดได้ตามขั้นตอนดังนี้ เพื่อติดตามว่าคุณพิมพ์กี่คำแล้ว
เมื่อได้รับมอบหมายให้คิดงานหรือแก้ไขปัญหา หลายคนอาจใช้วิธีระดมสมองให้คนในทีมช่วยคิดไอเดีย หรือเสนอความคิดเห็น เพื่อให้งานเดินหน้า แต่นั่นไม่ใช่วิธีที่มีประสิทธิภาพเสมอไป ในทางปฏิบัติการ “ระดมสมอง” ไม่ใช่วิธีที่แย่ แต่ก็มีทางเลือกที่มีประสิทธิภาพพอๆ กันนั่นคือ “การตั้งคำถาม” หลายคนให้ความสำคัญกับคำตอบ จนลืมสิ่งสำคัญที่ควรจะมาก่อนคือคำถามที่ควรถาม ซึ่งการตั้งคำถามเป็นวิธีที่บริษัทระดับโลกอย่าง Netflix, Airbnb ใช้ในการคิดค้นนวัตกรรมใหม่ๆ ทำไมการระดมสมองถึงไม่เวิร์ค? การระดมสมองคือการให้คนค้นหาคำตอบสำหรับคำถามหรือปัญหาที่ตั้งไว้ ซึ่งคำตอบอาจไม่ถูกต้องหรือยังไม่ถึงจุดที่สามารถแก้ไขปัญหาได้ ในทางกลับกันการตั้งคำถามจะช่วยหาความเป็นไปได้ในการเปลี่ยนแปลงหลายๆ อย่าง รวมถึงค้นหาคำตอบได้อย่างไม่สิ้นสุด นี่คือ 4 ขั้นตอนง่ายๆ ในการตั้งคำถาม ดังนี้ 1.เริ่มต้นด้วยเป้าหมาย เป้าหมายไม่ใช่คำตอบ แต่เป็นจุดมุ่งหมายหรือผลลัพธ์ที่ต้องการ เช่น “ต้องการให้ลูกค้าจดจำแบรนด์ได้” “อยากเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน” เพื่อเป็นจุดเริ่มต้นให้กับทุกคนในทีมสำหรับขั้นต่อไป 2.ตั้งคำถามให้ได้มากที่สุด เมื่อได้เป้าหมายแล้ว ให้ทุกคนในทีมตั้งคำถามให้ได้มากที่สุด ซึ่งวิธีนี้สามารถแยกกันคิดได้แล้วนำมารวมกันทีหลัง เช่น “ลูกค้าคิดอย่างไรเมื่อเห็นโลโก้แบรนด์” “ทำไมถึงเสียเวลาในการประชุมมากที่สุด” สิ่งสำคัญคือให้ตั้งคำถามเพียงอย่างเดียว ห้ามหาคำตอบ 3.ปรับคำถาม “ปลายปิด” ให้เป็น “ปลายเปิด” หากเปลี่ยนคำในคำถามเพียงนิดเดียวก็สามารถเปลี่ยนคำตอบได้เลย เมื่อได้ลิสต์คำถามมาแล้ว ให้ปรับเปลี่ยนให้เป็นคำถามที่เป็น “ปลายปิด” เป็นคำถาม “ปลายเปิด” เพื่อให้เกิดการคิด …
เมื่อคนใช้มากขึ้นก็ได้เวลาที่ Zoom ต้องอัพเดตระบบความปลอดภัย หลังจากที่กรณีชายไม่ทราบชื่อโผล่เข้ากลางวงประชุมและใช้ข้อความที่เป็นการเสียดสี
แดน ไพรซ์ (Dan Price) CEO บริษัท Gravity ที่ได้รับผลกร...
ในภาวะที่โลกกำลังเชิญกับการแพร่ระบาดของไวรัสสายพันธุ์ใหม่โควิด-19 ภาคธุรกิจได้รับผลกระทบโดยตรง ทั้งการใช้จ่ายของผู้บริโภคที่ลดลง กิจกรรมต่างๆ ก็ไม่สามารถจัดได้ ทำให้หลายธุรกิจต้องเลย์ออฟพนักงาน หรือปรับลดเงินเดือนเพื่อพยุงให้ธุรกิจยังสามารถไปต่อได้ แน่นอนว่าวิกฤตครั้งนี้ไม่ใช่วิกฤตครั้งแรกที่เผชิญ ก่อนหน้านี้มีทั้ง วิกฤต“ต้มยำกุ้ง” ในปี 2540 “แฮมเบอร์เกอร์” ปี 2552 และอื่นๆ อีกมาก แน่นอนว่าวิกฤต “ไวรัสโควิด-19” ครั้งนี้จะไม่ใช่วิกฤตครั้งสุดท้ายที่ต้องเผชิญ นั่นเป็นสาเหตุสำคัญที่ภาคธุรกิจต้องมีการเตรียมธุรกิจให้พร้อมรับมือกับวิกฤตในครั้งต่อไป การเตรียมพร้อมรับมือกับวิกฤตนอกจากจะสามารถลดผลกระทบต่อธุรกิจและสร้างความมั่นใจให้กับพนักงานและลูกค้าอีกด้วย การไม่เตรียมพร้อมจะทำให้ธุรกิจมีความเสี่ยงต่อการสูญเสีย อย่างเลวร้ายสุดคือไม่มีรายได้จนต้องปิดกิจการไป Thumbsup จึงรวบรวม 4 วิธีเตรียมธุรกิจให้พร้อมสำหรับวิกฤต บทเรียนและแผนรับมือในอนาคตสำหรับเจ้าของธุรกิจ ดังนี้ รักษาเครดิต เมื่อเผชิญกับวิกฤต ธุรกิจที่ขาดรายได้ไม่จำเป็นต้องปิดกิจการเสมอไป การขอสินเชื่อเพื่อให้ธุรกิจยังคงมีเงินทุนหมุนเวียนในการจ่ายค่าดำเนินการ เงินเดือน ค่าเช่า จึงเป็นสิ่งสำคัญ แต่การจะรักษาเครดิตได้ก็ต้องมีประวัติชำระเงินที่ตรงเวลา ชำระหนี้ที่คงค้าง และใช้เครดิตอย่างมีความรับผิดชอบ สร้างคู่มือรับมือภาวะวิกฤตสำหรับธุรกิจ ท่ามกลางภาวะวิกฤตย่อมเกิดความเครียดและความสับสนในการตัดสินใจ นั่นเป็นเหตุผลที่ควรมีคู่มือการรับมือ เมื่อธุรกิจหยุดชะงัก ควรมีขั้นตอนการดำเนินการอย่างไร ข้อแนะนำสำหรับผู้บริหารและพนักงาน แน่นอนว่าในแต่ละธุรกิจมีเงื่อนไขทางการเงินไม่เหมือนกัน ดังนั้นแต่ละธุรกิจควรมีคู่มือรับมือเป็นของตัวเอง สื่อสารกับพนักงาน การสื่อสารภายในองค์กรที่ดี ที่จะช่วยสร้างความเข้าใจและเป็นสิ่งเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างบุคลากรในองค์ก ก่อนเกิดวิกฤตพนักงานทุกระดับควรเข้าใจแผนการและขั้นตอนการรับมือวิกฤต เพื่อเป็นการเตรียมพร้อมพนักงาน ไม่ให้ตื่นตระหนกกับความไม่แน่นอนว่าบริษัทจะดำเนินการอย่างไร สื่อสารกับลูกค้าและผู้เกี่ยวข้อง …