DNA Digital News ประจำวันพฤหัสบดีที่ 7 พฤษภาคม 2563

marketing oops! - 05/05/2020

มหาวิทยาลัยในสิงคโปร์ใช้ AI ในการวิเคราะห์เพื่อคาดการณ์สถานการณ์ COVID-19 โดยคาดว่า COVID-19 จะหายไปจากโลกช่วงปลายปีนี้ โดยประเมินจากข้อมูลอัปเดตของแต่ละประเทศ

#beartai - 06/05/2020

เชื่อว่าเป็นคำถามที่คงมาให้เห็นได้เรื่อย ๆ “ชาร์จ iPhone ไปใช้ไปด้วยเป็นอะไรมั้ย?” “ชาร์จโน้ตบุ๊กไปด้วยใช้ไปด้วยมันจะพังเร็วหรือเปล่า?” หากใครที่กำลังสงสัย หรือมีใครถามคุณด้วยคำถามทำนองเหล่านี้ละก็ โยนลิงก์ของบทความนี้ให้อ่านได้เลยครับ ถึงบางอ้ออย่างแน่นอน อันดับแรกก็ต้องมาทำความเข้าใจก่อนว่า ปัจจุบันอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ส่วนใหญ่ใช้แบตเตอรีชนิด ลิเธียมไอออน (Li-ion) และลิเธียมพอลิเมอร์ (LiPo) ซึ่งโดยส่วนมากแล้วอุปกรณ์เหล่านี้ไม่ว่าจะเป็นสมาร์ตโฟน แล็ปท็อป หรือแท็บเล็ตต่างถูกออกแบบมาให้ตัดชาร์จเข้าแบตเตอรีเมื่อแบตเตอรีมีไฟเต็ม 100% นั่นหมายความว่า เมื่อเราชาร์จอุปกรณ์เหล่านี้จนแบตเตอรีเต็ม 100% แล้ว ตัวเครื่องจะไปเปลี่ยนไปรับกระแสไฟจากอแดปเตอร์แทน ระหว่างนี้จะไม่มีการจ่ายไฟเข้าแบตเตอรีเกิดขึ้นเลย แต่ถ้าระหว่างที่ใช้ ๆ ไปแล้วแบตเตอรีเกิดลดลง อแดปเตอร์จะจ่ายไฟเข้าแบตเตอรีอีกครั้ง ปัญหาความร้อนคือสิ่งที่ต้องระวังมากกว่า การใช้งานสมาร์ตโฟนหรือแล็ปท็อปและชาร์จไปด้วย สิ่งที่ต้องระวังมากกว่าคือเรื่องของความร้อน แล้วทำไมความร้อนถึงทำให้แบตเตอรีเสื่อมเร็ว? แบตเตอรีเป็นอุปกรณ์ทางไฟฟ้าที่แปลงเคมีเป็นพลังงาน ตามทฤษฎีแล้ว ปฏิกิริยาทางเคม่จะขับเคลื่อนด้วยแรงดันไฟฟ้าและความร้อน ยิ่งมีความร้อนมาก ยิ่งทำให้ปฏิกิริยาทางเคมีเกิดเร็วขึ้น จริง ๆ อุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นก็สามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพได้ แต่ในทางกลับกัน มันก็ทำให้เกิดเกิดปฏิกิริยาเคมีที่ไม่พึงประสงค์ โดยความร้อนที่มากเกินไปทำให้ของเหลวซึ่งเป็นเคมีภายในแบตเตอรีระเหยเร็วขึ้น ทำให้โครงสร้างแบตเตอรีเกิดความเสียหายได้ ถ้าเป็นสมัยก่อนเรามักจะได้ยินคำกล่าวว่า “ถ้าชาร์จคอมไปด้วยใช้ไปด้วยให้ถอดแบตเตอรีออก” ซึ่งเป็นคำกล่าวที่ถูกต้องเพราะจะทำให้ความร้อนที่เกิดขึ้นไม่ไปกระทบกับแบตเตอรี แต่โน้ตบุ๊กและสมาร์ตโฟนสมัยนี้มันถอดไม่ได้แล้วนี่สิ สรุป: ไม่ต้องห่วงว่าการชาร์จแบตเตอรีไปด้วย ใช้งานไปด้วยจะทำให้แบตเตอรีเสื่อมเร็วขึ้น ตราบใดที่ยังไม่เกิดความร้อนที่มากเกินไป โดย …

nuttaputch.com - 06/05/2020

เป็นที่พอจะเดากันได้ว่าการอยู่ในภาวะ COVID-19 นั้นทำให้มีการใช้อินเทอร์เน็ตมากขึ้นเนื่องจากคนต้องอยู่บ้านเสียส่วนใหญ่ และก็จะมีการเสพคอนเทนต์ต่างๆ มากขึ้นเป็นธรรมดา และเรื่องน่าคิดก็คือในภาวะแบบนี้นั้น คนจะเสพคอนเทนต์อะไรกันบ้างเป็นสำคัญ? ในการสำรวจและรวบรวมข้อมูลของทาง we are social ได้ทำการอัพเดทในเดือนเมษายนที่ผ่านมาว่าคนจากทั่วโลกนั้นเสพคอนเทนต์ประเภทไหนกันบ้าง แล้วก็ได้พบข้อมูลของคอนเทนต์ประเภทต่างๆ ที่มีการเสพมากขึ้นดังนี้ ภาพยนต์ต่างๆ คลิปวีดีโอสนุกสนานหรือ Meme ต่างๆ วีดีโอสอนสิ่งต่างๆ / How to การดูรายการทีวียอดนิยมย้อนหลัง การดูถ่ายทอดสดจากศิลปินต่างๆ การดูการถ่ายทอดกีฬาสำคัญๆ (ย้อนหลัง) การถ่ายทอดสดกีฬาโปรด การถ่ายทอดสด eSport อัพเดทต่างๆ จากบล็อกเกอร์ จากข้อมูลดังกล่าวนั้นก็พอจะเห็นภาพว่าคนต้องการความบันเทิงเป็นสำคัญสำหรับช่วงที่ต้องกักตัวหรือไม่สามารถออกจากบ้านได้ ซึ่งคอนเทนต์เรื่องของกีฬาและดนตรีก็เป็นสิ่งที่หลายๆ คนให้ความสำคัญ รวมทั้งจะเห็นพฤติกรรมเรื่องการ “ตามเก็บ” คอนเทนต์ที่ตัวเองพลาดไปอีกด้วย

it24hrs by ปานระพี - 05/05/2020

เรือนจำงดเยี่ยมญาติในพื้นที่ ตามกำหนดมาตรการการเฝ้าระวังการแพร่ระบาด COVID-19 แต่สามารถเยี่ยมผู้ต้องขังผ่านทาง LINE VISIT เยี่ยมญาติผู้ต้องขังผ่านแอปไลน์

marketing oops! - 06/05/2020

นักโฆษณาศึกษากฎหมายข้อมูลฯ แล้วหรือยัง เมื่อคุกกี้ (Cookie) การจัดเก็บข้อมูลพฤติการการใช้เน็ตอาจผิดกฎหมาย พร้อมศึกษา 6 ฐานสิทธิการจัดเก็บข้อมูลแบบไม่ผิดกฎหมาย

thumbsup - 05/05/2020

ไม่กี่เดือนก่อนหน้านี้ Sprout Social ได้เผยช่วงเวลาโพสต์ที่ดีที่สุดในแต่ละแพลตฟอร์มปี 2020 แต่หลังจากเกิดวิกฤตการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ก็เกิดการเปลี่ยนแปลงมากมายทั้งชีวิตประจำวันและการทำงาน ซึ่งเข้าสู่โลกออนไลน์มากขึ้น มาตรการป้องกันการแพร่ระบาดนำไปสู่การใช้งานแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียที่เพิ่มขึ้น Sprout จึงอัปเดตข้อมูลเพื่อเป็นแนวทางในการเพิ่มการเข้าถึงและการมีส่วนร่วมของผู้ติดตามสำหรับแบรนด์และธุรกิจต่างๆ ทั้งนี้ ข้อมูลดังกล่าวเป็น Central Time Zone (CST) ในแต่ละประเทศ Facebook จากรายงานก่อนหน้านี้ได้แนะนำว่าเวลาที่เหมาะสมสำหรับโพสต์ที่ต้องการการมีส่วนร่วมบน Facebook คือ วันพุธ 11.00 – 12.00 น. แต่ในช่วงโควิด-19 Sprout ได้รวบรวมข้อมูลในเดือนมีนาคมและเมษายน พบว่าช่วงเวลาโพสต์ที่ดีที่สุดสำหรับเพิ่มการมีส่วนร่วมคือ วันจันทร์ วันพุธ และศุกร์ เวลา 10.00 น. – 11.00 น. จากข้อมูลสังเกตได้ว่าช่วงเวลา 11.00 น. ของทุกวันเป็นช่วงเวลาที่โพสต์มีส่วนร่วมมากที่สุด รวมถึงช่วงวันทำงานและวันหยุดหลัง 17.00 น. มีแนวโน้มการใช้โซเชียลมีเดียลดลงอย่างมีนัยสำคัญ Instagram จากรายงานก่อนหน้านี้วันพุธเวลา 11.00 น. และวันศุกร์ 10.00 น. …