“หลุมดำ” ถือเป็นหนึ่งในวัตถุเอกภพที่แปลกประหลาดที่สุดที่เรารู้จัก เนื่องจากคุณสมบัติที่ว่า ดูดกลืนทุกสิ่งแม้กระทั่งแสง ทำให้การค้นคว้าศึกษาหลุมดำเป็นไปได้ยาก (เพราะมองเข้าไปเท่าไหร่ก็ไม่เห็น ข่าวฮือฮาเรื่องการถ่ายภาพหลุมดำเมื่อปีก่อน ก็เป็นการประมวลภาพจากคลื่นวิทยุ หาใช่การถ่ายภาพด้วยเลนส์ผ่านแสงที่ตาเห็นไม่) และด้วยความลี้ลับนี่เองจึงเป็นมนต์เสน่ห์ดึงดูดในทั้งบรรดาผู้สร้างภาพยนตร์และนักเขียนนิยายไซไฟทั้งหลาย นำมาเป็นหมุดหมาย จินตนาการต่อยอดถึงสภาวะต่าง ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นหากมนุษย์ได้เข้าไปในหลุมดำ แม้แต่คริสโตเฟอร์ โนแลน ก็ยังเอามาใช้ทำเรื่อง Interstellar ให้เราหัวหมุนมาแล้ว ดังนั้น การค้นพบอะไรใหม่ ๆ โดยเฉพาะ สิ่งที่ทำให้เรา ‘เห็น’ หรือ ‘รู้สึก’ ถึงบางสิ่งที่สะท้อนการมีอยู่ของหลุมดำจึงเป็นที่น่าตื่นเต้นเสมอ ฮอลลีวูดทำให้ภาพของหลุมดำในใจคนส่วนใหญ่ เป็นหลุมสีดำกลางอวกาศสีดำที่มีพลังดึงดูดมหาศาล หากใครหรือสิ่งใดเข้าใกล้จะถูกดูดเข้าไปอย่างน่ากลัว ซึ่งก็เป็นความจริงเพียงบางส่วน ไม่ถูกต้องเสียทีเดียว เพราะนอกจากการ ‘ดูด’ หลุมดำยังมีการ ‘ขยายตัว’ ด้วย มันจึงสามารถขยายไปเขมือบดาวต่าง ๆ หรือแม้กระทั่งดาวฤกษ์ใหญ่ยักษ์ได้ด้วย หลุมดำใหญ่ยักษ์ กับการดูดกลืนที่เหลือเชื่อ! งานวิจัยล่าสุดพบว่า มีหลุมดำดวงหนึ่งกลืนกินดาวฤกษ์หรือดวงอาทิตย์ทั้งดวงเข้าไปภายในวันเดียว (ดวงอาทิตย์จัดเป็นดาวฤกษ์เพียงหนึ่งเดียวของระบบสุริยะที่เราอยู่ ดังนั้น จึงขอใช้การเปรียบเปรยดาวฤกษ์เป็นดวงอาทิตย์ เพื่อให้เห็นภาพที่ชัดเจนยิ่งขึ้น) และมันกำลังกลืนดวงอาทิตย์ที่มีขนาดเท่าโลกหนึ่งดวงทุกวัน โดยหลุมดำดวงนี้มีขนาด 34 พันล้านเท่าของมวลดวงอาทิตย์ของเรา ดร.คริสโตเฟอร์ ออนเกน (Dr. Christopher Onken) และเพื่อนร่วมงาน นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลีย (Australian National University) เจ้าของผู้ศึกษางานวิจัยหลุมดำนี้กล่าวว่า มวลของหลุมดำนี้ใหญ่กว่าหลุมดำที่ตั้งอยู่ในใจกลางกาแล็กซีทางเชือกเผือกของเราถึง 8,000 เท่า ถ้าหลุมดำของเราอยากขยับขยายไซส์ได้ใหญ่เท่านั้น มันจะต้องกลืนกินดวงดาวถึงสองในสามของกาแล็กซี “หลุมดำนี้มีชื่อว่า J2157 ค้นพบเมื่อปี 2018 และที่เรา ‘เห็น’ มัน (ด้วยคลื่นวิทยุ) คือเมื่อเอกภพมีอายุ 1.2 พันล้านปี […]
เทปจัดเก็บข้อมูล (Tape Storage) เป็นเทคโนโลยีบันทึกและอ่านข้อมูลบนแถบแม่เหล็กที่มีลักษณะคล้ายกับตลับเทปเพลง (Tape 8 track) ในอดีตที่เลิกใช้ไปนานแล้ว แม้ว่าเทคโนโลยีเทปเก็บข้อมูลมีมานานแต่ปัจจุบันได้มีการพัฒนาให้มีขนาดเล็กลง อ่านเขียนข้อมูลได้เร็วขึ้นและความจุเพิ่มมากขึ้น ซึ่งนิยมใช้ในองค์กรขนาดใหญ่สำหรับการสำรองข้อมูลแบบถาวรเพราะความคงทนเก็บไว้ได้นานและความจุสูง แต่ก็มีจุดอ่อนที่อ่านเขียนข้อมูลได้ช้ากว่า HHD, SSD, แฟลชไดรฟ์และดิสก์ไดรฟ์ ที่นิยมใช้ในการจัดเก็บข้อมูลที่ต้องเข้าถึงอยู่บ่อย ๆ หากองค์กรของคุณมีข้อมูลจำนวนมากและไม่จำเป็นต้องเข้าถึงข้อมูลทุกวัน การใช้ตลับเทปจัดเก็บข้อมูลถือว่าเป็นทางเลือกที่ดี เพราะปัจจุบันเทปขนาดความจุ 12TB มีราคาแค่ 100 USD (~3,100 บาท) เท่านั้น และตอนนี้ Fujifilm ประกาศว่าอนาคตจะสร้างเทคโนโลยีเทปจัดเก็บข้อมูลที่ความจุถึง 400TB ในตลับเดียว เทปจัดเก็บข้อมูลไม่เหมาะสำหรับผู้ใช้ทั่วไป เพราะปัจจุบันเครื่องอ่านข้อมูลจากเทปที่ผลิตโดย IBM ราคาสูงถึง 6,000 USD (~190,000) ดังนั้นจะคุ้มค่าสำหรับองค์กรที่ต้องการจัดเก็บข้อมูลจำนวนมาก ที่กำลังเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ และต้องเก็บไว้นานหลายสิบปี ปัจจุบันเทปจัดเก็บข้อมูลที่ใช้ใน Data Center ทั่วโลกจะใช้มาตรฐาน LTO-8 (Linear Tape-Open 8) ทำจากวัสดุที่เรียกว่า Barium Ferrite (BaFe) สามารถจัดเก็บข้อมูลได้ 12TB หรือสูงสุด 30TB เมื่อบีบอัดข้อมูล (แต่ทำงานช้า) และปลายปีนี้คาดว่าจะออกมาตรฐานใหม่ LTO-9 ใช้วัสดุใหม่ที่เรียกว่า Strontium Ferrite (SrFe) ซึ่งเป็นโมเลกุลขนาดเล็กกว่า BaFe ช่วยให้มีความหนาแน่นและความจุเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่าคือ 24TB คาดว่าใช้เวลาอีกประมาณ 2 ปีครึ่งจึงจะปรับปรุงใช้งานอย่างแพร่หลาย ดังนั้นใครที่มีเทป LTO-8 ก็ให้ใช้ของเดิมไปก่อน อย่างไรก็ตาม […]
[[ #MoveON!!! ]] Pinduoduo ธุรกิจอีคอมเมิร์ซมาแรง คู่แข่งสำคัญของ Alibaba . แม้ว่าจะไม่ค่อยคุ้นหูกันสักเท่าไหร่กับ Pinduoduo บริษัทอีคอมเมิร์ซสัญชาติจีน ที่สร้างยอดขายถล่มทลายจนกลายเป็นอันดับที่ 3...
‘TikTok’ หนึ่งในแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียที่เติบโตเร็วที่สุดในโลก ปัจจุบันมียอดดาวน์โหลดมากกว่า 2 พันล้านครั้ง เติบโตถึง 2 เท่าจากปีที่แล้ว และตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเดือนมีนาคมมีการดาวน์โหลด 315 ล้านคร…
ฟีเจอร์ใหม่จาก LINE วิธีปักหมุดไฟล์รูปภาพใน LINE KEEP ให้คุณสามารถหาภาพที่เปิดบ่อย หาภาพสำคัญจริงๆให้เห็นอย่างรวดเร็วบน LINE KEEP