DNA Digital News ประจำวันเสาร์ที่ 25 มีนาคม 2566

rainmaker - 23/03/2023

Instagram เปิดตัวโฆษณา 2 รูปแบบใหม่ เพื่อเพิ่มโอกาสให้แบรนด์ และธุรกิจใหม่ ๆ เข้าถึงผู้บริโภคมากขึ้น ทั้ง Reminder Ads และ โฆษณาในผลการค้นหา (Ads in

sanook - 30/11/-0001

Google Message ได้มีการค้นพบของ AI สามารถช่วยตอบข้อความได้

rainmaker - 23/03/2023

แม้การลงคลิปต่าง ๆ บนสตอรีของ Instagram จะสามารถลงได้มากกว่า 15 วินาที ยกเว้น Reels เป็นปัญหามาอย่างยาวนาน ตอนนี้ Instagram เตรียมทดสอบให้แชร์ Reels

techhub - 24/03/2023

Adobe ได้เปิดตัว AI สำหรับสร้างภาพของตัวเองขึ้นมา เรียกว่าเป็นอีกเครื่องมือหนึ่งก็แล้วกัน ชื่อว่า Adobe Firefly

futuretrend - 25/03/2023

โลกการทำงานทุกวันนี้ การใช้เทคโนโลยีพื้นฐานเป็น เช่น โปรแกรม Word กับ Excel แค่นั้นแทบไม่พอ เพราะใครๆ ก็ทำได้ ไม่ว่าจะอยู่สายไหนทั้งฝ่ายขาย ฝ่ายการตลาด ฝ่ายบริหารโปรเจกต์ หรือแม้แต่ฝ่ายดีไซน์และสายอาร์ต ด้วยเทคโนโลยีที่พัฒนาอย่างรวดเร็วทั้งในด้านการวิเคราะห์ข้อมูล การจัดการ และการติดต่อสื่อสาร ทำให้นายจ้างล้วนคาดหวังว่า พนักงานควรใช้ประโยชน์เทคโนโลยีใหม่ๆ ได้ และสามารถเอามาใช้นำเสนอข้อมูลในที่ประชุมได้ด้วย การ์ตเนอร์ (Gartner) บริษัทที่ปรึกษาและทำวิจัยสายเทคฯ เผยผลสำรวจในปี 2022 พบว่า พนักงานออฟฟิศโดยเฉลี่ยใช้แอปพลิเคชันในการทำงานทั้งหมด 11 ชิ้น และมีถึง 17 เปอร์เซ็นต์ ที่ใช้มากกว่า 16 แอปฯ ขึ้นไป ทักษะการใช้งานแอปฯ เหล่านี้บางอย่างสามารถเรียนรู้ได้ระหว่างการทำงาน แต่หลายอย่าง นายจ้างคาดหวังว่า พนักงานที่รับเข้ามาควรมีติดตัวไว้อยู่ก่อนแล้ว The Wall Street Journal ได้สอบถามบรรดานายจ้าง บริษัทที่ปรึกษา ตลอดจนบริษัทจัดหางาน และนักการศึกษา เพื่อสำรวจว่า ทักษะเทคโนโลยีด้านใด และแอปฯ อะไรบ้างที่จำเป็นสำหรับการทำงานยุคใหม่ ทาง Future Trends สรุปมาให้ทราบ ดังนี้ 1. ทักษะบริหารจัดการข้อมูลด้วยเครื่องมือใหม่ บริษัทปัจจุบันมีการเก็บข้อมูลกันมากขึ้นทั้งยอดขาย การสร้าง Productivity และข้อมูลธุรกิจอื่นๆ ดังนั้น พนักงานจึงถูกคาดหวังว่า จะสามารถใช้ซอฟต์แวร์ที่นำข้อมูลตัวเลขเหล่านี้มาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้อย่างรวดเร็ว การ์ตเนอร์ ยกตัวอย่าง Power BI ของ Microsoft และ Tableau ของ Salesforce ที่เป็นโปรแกรมประมวลผลข้อมูล ซึ่งกำลังมาแรง โดยเฉพาะ Power BI ที่ติดอันดับ 13 คอร์สสอนใช้งานที่ได้รับความนิยมมากที่สุดใน LinkedIn Learning ปี 2022 ความพิเศษของมัน คือ การใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) มาช่วยจัดการข้อมูลตัวเลขต่างๆ โดยสามารถเปลี่ยนดาต้าให้กลายเป็นตาราง หรือภาพกราฟฟิคที่เข้าใจง่ายได้ภายในคลิกเดียว 2. ทักษะการทำ ‘พรีเซนเทชัน’ ให้น่าดึงดูดใจ แม้ทักษะการใช้โปรแกรมพื้นฐานอย่าง Excel หรือ Sheets รวมถึง Word หรือ Google Docs ตลอดจน PowerPoint และ Google Slides จะเป็นสิ่งที่นายจ้างยังคงมองหา แต่เมื่อยุคสมัยเปลี่ยนไป การใช้งานโปรแกรมเหล่านี้ได้ยังไม่พอ ต้องทำออกมาให้น่าสนใจ แปลกใหม่ และดูมีความเป็นมืออาชีพด้วย ยกตัวอย่าง การทำพรีเซนเทชันต่อไปอาจต้องเพิ่มภาพเคลื่อนไหวแบบแอนิเมชันเข้าไปแทนภาพนิ่ง ส่วนการใช้ Word อาจต้องใช้ฟอร์แมตที่ล้ำสมัยขึ้น เช่น การลิงค์เอกสารในเซกชันต่างๆ เข้าด้วยกัน หรือต้องคุ้นเคยกับฟีเจอร์แบบ collaboration เช่น การแชร์ และคอมเมนต์งาน เป็นต้น 3. ทักษะการใช้เครื่องมือสื่อสารยุคใหม่ แม้ในช่วงเกิดโรคระบาดโควิด-19 ที่ผ่านมา หลายคนอาจคุ้นเคยกับการใช้งานเครื่องมือจัดการประชุมทางไกลอย่าง Zoom, Google Meet, Microsoft Teams รวมถึง Slack ของ Salesforce แต่ส่วนใหญ่อาจเข้าใจแค่ขั้นพื้นฐาน พนักงานยุคใหม่จำเป็นต้องมีทักษะใช้งานเทคโนโลยีเหล่านี้ที่ advanced มากขึ้น เช่น การใช้ช่องทางสำหรับถกหัวข้อ หรือโปรเจกต์เฉพาะภายในทีม และต้องรู้วิธีลิงค์แอปฯ อื่นกับโปรแกรมนี้ เพื่อให้สามารถแชร์ไฟล์และบริหารจัดการโปรเจกต์ได้ง่ายขึ้นด้วย แม้แต่เทคนิคการจัดการอีเมล เช่น การสร้างลิสต์ ส่งออกอีเมลพร้อมกันจำนวนมาก หรือการเขียนชื่อหัวข้ออีเมลให้น่าดึงดูดใจ ก็เป็นทักษะอันดับต้นๆ บนโปรไฟล์ LinkedIn ขณะที่ดัชนีของ ZipRecruiter ยกให้ทักษะการสื่อสารมาเป็นอันดับ 1 ในการรับสมัครงานทั่วไป 4. ทักษะบริหารจัดการโปรเจกต์ (Project Management) โปรแกรมวางแผนและบริหารจัดการต่างๆ ช่วยให้การทำงานเป็นทีมมีความง่ายดายมากขึ้นผ่านฟีเจอร์อย่าง การจัดการการทำงาน การกำหนดเวลานัดหมาย และแชร์ไฟล์ข้อมูลต่างๆ ยกตัวอย่าง การใช้ซอฟแวร์ Asana เป็นหนึ่งในทักษะเทคโนโลยีที่มีการใส่ในโปรไฟล์ LinkedIn มากที่สุดในปี 2022 เช่นเดียวกับซอฟต์แวร์ Trello ของ Atlassian ส่วนแอปฯ อื่นๆ ที่ได้รับความนิยมไม่แพ้กัน คือ ClickUp และ Smartsheet Credly บริษัทอบรมทักษะเทคโนโลยีออนไลน์ระบุว่า ทักษะการบริหารจัดการโปรเจกต์ คือ คอร์สเรียนเทคฯ ยอดนิยมอันดับ 5 ที่มีการออกใบรับรองการศึกษาให้มากที่สุด 5. ทักษะการสร้างคำสั่งทำงานอัตโนมัติ ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยียุคใหม่ทำให้การสร้าง ‘โรบอต’ สักตัวขึ้นมาช่วยทำงานที่ต้องทำซ้ำๆ ในรูปแบบเดิมๆ ทุกวัน ไม่ใช่กระบวนการที่ยุ่งยากอีกต่อไป ซอฟต์แวร์หลายชิ้นช่วยให้เราสามารถสร้างหุ่นยนต์ขึ้นมาทำงานเหล่านี้แทนได้โดยไม่จำเป็นต้องเขียนโค้ดใดๆ ขึ้นมา ยกตัวอย่าง Power Automate ของ Microsoft ที่สามารถสร้างโรบอตขึ้นมาช่วยงานได้แบบอัตโนมัติ โดยไม่จำเป็นต้องเขียนโค้ด และการใช้โปรแกรมนี้ก็เป็นทักษะการเพิ่ม Productivity ในการทำงานออฟฟิศที่เติบโตรวดเร็วที่สุดบนแพลตฟอร์ม Udemy เมื่อปี 2022 6. ทักษะเขียนโปรแกรมขั้นพื้นฐาน อย่างไรก็ตาม ทักษะการเขียนโค้ดขั้นพื้นฐานยังคงทำให้พนักงานมีแต้มต่อในการทำงาน หรือสมัครงาน โดยพนักงานยุคใหม่ไม่จำเป็นต้องเชี่ยวชาญการเขียนโค้ดเหมือนโปรแกรมเมอร์ แค่มีความรู้พื้นฐานบ้างก็พอ เพราะสามารถดาวน์โหลดโมดุลของโค้ดจาก open-source ที่เรียกว่า ‘packages’ มาช่วยได้ ยกตัวอย่าง ภาษาเขียนโปรแกรมที่ชื่อว่า Python ถือเป็นคอร์สเขียนโปรแกรมยอดนิยมอันดับ 9 ของ LinkedIn Learning และคณะบริหารธุรกิจของมหาวิทยาลัยโคลัมเบียในนครนิวยอร์ก รายงานว่า นักศึกษากว่าครึ่งของคณะล้วนใช้งาน Python ในคลาส อีกประโยชน์ของการเรียนเขียนโค้ดขั้นพื้นฐาน คือ การช่วยให้ทำงานกับผู้อื่นได้ราบรื่นขึ้น โดยเฉพาะการทำงานร่วมกันระหว่างนักธุรกิจกับโปรแกรมเมอร์ ตลอดจนนักวิทยาศาสตร์ข้อมูล (data scientist) และดีไซเนอร์ UX ภายในทีม 7. ทักษะการใช้งาน AI การใช้เครื่องมืออัจฉริยะแบบ AI คือ ทักษะสุดท้ายที่พนักงานยุคใหม่จำเป็นต้องเรียนรู้ เนื่องจากกระแส AI ที่กระจายไปอย่างรวดเร็ว และสามารถทดลองใช้ได้ทั่วไป ไม่ว่าจะเป็น ChatGPT ที่สามารถช่วยเขียนบทความและโค้ด รวมถึง Stable Diffusion และ Midjourney ที่ช่วยเรื่องการวาดภาพ บริการใหม่ของ Microsoft อย่าง Copilot ที่นำ AI มาใช้กับโปรแกรมออฟฟิศ ทั้ง Word, Excel, Outlook และ PowerPoint ก็ทำให้พนักงานยุคใหม่ต้องเรียนรู้เพิ่มเติม ขณะที่นักลงทุนและที่ปรึกษาด้าน AI ของ IBM และ Amazon Web Services แนะนำว่า ผู้คนส่วนใหญ่ควรเรียนคอร์สหลักการ AI ขั้นสูง เช่น AI for Everyone ของ Coursera และลองใช้เครื่องมือใหม่ๆ ที่ช่วยทำให้การทำงานง่ายขึ้น แอลลี มิลเลอร์ ที่ปรึกษาของ IBM และ AWS กล่าวว่า “ลองนึกถึงสิ่งที่คุณทำบ่อยๆ และให้ AI ทำงานนั้น เพื่อดูว่า คุณสามารถทำงานได้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น 80 เปอร์เซ็นต์ ในสิ่งที่คุณไม่คิดอยากเป็นผู้เชี่ยวชาญหรือไม่ เช่น ฉันไม่อยากเป็นผู้เชี่ยวชาญการเขียนอีเมล (ก็เลยให้ AI ทำแทน)” เขียนโดย Phanuwat Auaudomchaisakun

sanook - 25/03/2023

เป็นเวลาหลายปีแล้วที่ Apple ปฏิวัติโลกเทคโนโลยีด้วยสโลแกนที่ว่า “there’s an app for that.” และในปัจจุบันนี้ ความแม่นยำมากขึ้นด้วยความสามารถที่เพิ่มมากขึ้นของแอป